วันอังคารที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559

      
.
** รับงานซ่อมบำรุง ติดตั้ง,ตู้น้ำมัน,ถังน้ำมัน,ซ่อมตู้จ่าย ซ่อมปั๊ม ซ่อมถังน้ำมัน คาริเบตตู้น้ำมัน คาริเบตถังน้ำมัน ตรวจสอบจากช่างตวงวัด ถังน้ำมันมีใบรับรอง ตีตราตู้น้ำมัน ถังน้ำมัน ตู้น้ำมัน รถน้ำมัน ตู้จ่ายน้ำมัน มือจ่ายน้ำมัน อุปกรณ์น้ำมัน ถังน้ำมันเบนซิน, ดีเซล ตู้น้ำมัน ตู้จ่ายน้ำมัน หัวจ่ายน้ำมัน สายจ่ายน้ำมัน อุปกรณ์อะไหล่ตู้จ่าย อุปกรณ์อะไหล่ถังน้ำมัน สายลงน้ำมัน ชุดโมบายอุปกรณ์เคลี่อนที่ ชุดปั๊มหัวจ่ายน้ำมัน อุปกรณ์ Part ข้อต่อสวมเร็ว สายจ่ายน้ำมัน สายลงน้ำมันGasoline miter ปั๊มทัสซูโน่ มอเตอร์กันระเบิด ปั๊ม12v.โวลล ปั๊ม 24v. โวลล อะไหล่มิเตอร์ ราคาเป็นกันเอง
.
** โรงงานผลิต/จำหน่าย ถังน้ำมัน ตู้จ่ายน้ำมัน อุปกรณ์น้ำมัน
บี.เอฟ.เอ็ม ซัพพลาย&เซอร์วิส
B.F.M Supply & Service
เลขที่ 29/481 ม.6 ต.ไทรน้อย อ.ไทรน้อย จ.นนทบุรี 11150
.
สนใจสอบถามได้ที่..
คุณณัฐชยา : 062-365-5816, 090-538-2566
E-mail: bfmsupply.service@gmail.com
FB: https://www.facebook.com/tank.Dispenser/
Line: @zmj7268L

" รายละเอียดเพิ่มเติ่ม..คลิกได้ที่เว็บไซต์ด้านล่าง "
Website , Blogger , Web marketing

>> http://www.bfmsupply.com/
>> http://bfmsupply.blogspot.com/
>> http://www.pantipmarket.com/mall/bfmsupply/
.
#ถังน้ำมันเบนซิน, #ตู้จ่ายน้ำมัน, #หัวจ่ายน้ำมัน, รับงานซ่อมบำรุง,ติดตั้งทุกชนิด,พร้อมบริการขนส่งติดตั้ง,จำหน่าย/ซ่อม/ติดตั้ง,ตู้น้ำมัน,ถังน้ำมัน,ซ่อมอุปกรณ์,งานติดตั้งทุกชนิด,เดินท่อน้ำมัน,อุปกรณ์น้ำมัน,สายน้ำมัน,มือบีบน้ำมัน,มอเตอร์กันระเบิด,ปั๊มน้ำมัน,ชุดดูดถ่ายน้ำมัน,ท่อน้ำมัน,สายลงน้ำมัน,ฝาถังน้ำมัน,อุปกรณ์เคลี่อนที่,หัวล็อกเร็ว,สายอ่อนน้ำมัน,ชุดโมบาย,ตู้จ่ายน้ำมันอัจฉริยะ,แลกเปลี่ยนอุปกรณ์ในสถานีบริการน้ำมัน,ซ่อม-ขาย-แลกเปลี่ยนหัวจ่ายน้ำมัน,ซ่อม-ขาย-แลกเปลี่ยนปั้มเติมน้ำมัน,ซ่อม-ขาย-แลกเปลี่ยนหัวฉีดน้ำมัน,จำหน่ายอะไหล่ตู้จ่ายน้ำมัน,จำหน่ายอะไหล่อุปกรณ์น้ำมัน,จำหน่าย-ซ่อมชุดมิเตอร์ติดรถน้ำมัน,จำหน่ายปั้มมือหมุน,ขายปั้มมือหมุนหลอดแก้ว,ขายปั้มมือหมุนหลอดแก้ว5ลิตร,ขาย-ซ่อมปั้มมือหมุน,ขาย-ซ่อมปั้มหลอดแก้ว,ขาย-ซ่อมปั้มหลอดแก้ว5ลิตร,จำหน่าย-ซ่อมปั้มน้ำมันหยอดเหรียญ,จำหน่าย-ซ่อมตู้จ่ายน้ำมันหยอดเหรียญ,บริการติดตั้งอุปกรณ์น้ำมัน,บริการติดตั้ง-ซ่อมบำรุงตู้จ่ายน้ำมัน,บริการติดตั้ง-ซ่อมบำรุงหัวจ่ายน้ำมัน,บริการ-ติดตั้งหัวปั้มเติมน้ำมัน,บริการปรึกษาปัญหาตู้จ่ายน้ำมัน,เช็คราคาอะไหล่ตู้จ่ายน้ำมัน,เช็คราคาอุปกรณ์น้ำมัน,ราคาตู้จ่ายน้ำมัน,ราคาหัวจ่ายน้ำมัน,ราคาปั้มจ่ายน้ำมัน,ราคาหัวปั้มเติมน้ำมัน,ราคาปั้มจ่ายน้ำมัน,ราคาตู้น้ำมันหยอดเหรียญ,ช่างซ่อมอุปกรณ์น้ำมัน,ช่างซ่อมปั้มน้ำมัน,ช่างซ่อมหัวจ่ายน้ำมัน,ช่างซ่อมตู้จ่ายน้ำมัน,บริการซ่อมบำรุงตู้จ่ายน้ำมัน,บริการซ่อมบำรุงอุปกรณ์น้ำมัน,มอเตอร์.Explosion-Proof Motor

วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กฎกระทรวง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงพ.ศ.2552

กฎกระทรวง
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ.2552

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 25 มกราคม 2553

สรุปสาระสำคัญ
·        กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553)
·        เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ตั้ง รูปแบบ และลักษณะของสถานีบริการน้ำมัน รวมถึงวิธีการและเงื่อนไขในการประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง โดยแบ่งออกเป็น 7 หมวด 89 ข้อ ประกอบด้วย
o   หมวดที่ 1                บททั่วไป
o   หมวดที่ 2                สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก
o   หมวดที่ 3                สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข
o   หมวดที่ 4                สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค
o   หมวดที่ 5                สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ง
o   หมวดที่ 6                สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท จ
o   หมวดที่ 7                สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ฉ
o   บทเฉพาะกาล      

หมวด 2-7 (สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก-ฉ) ในแต่ละหมวดแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ลักษณะของแผนผัง และ แบบก่อสร้าง
                กำหนดรายละเอียดแบบแผนผังและแบบก่อสร้าง
ส่วนที่ 2   ที่ตั้ง ลักษณะ ระยะปลอดภัย
                1. ระยะปลอดภัยภายนอก ได้แก่ สถานที่ตั้ง, ทัศนะวิสัย การเข้า-ออก และรูปแบบทางเข้า-ออก สถานี
                2. ระยะปลอดภัยภายใน ได้แก่ อาคารบริการ, สิ่งก่อสร้างต่างๆ, การให้บริการ (เช่น การล้างรถ, การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น) และอนามัยสิ่งแวดล้อม (เช่น การบำบัดน้ำเสีย, น้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว)
ส่วนที่ 3 การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
                ปริมาณการเก็บน้ำมันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงและปริมาณการเก็บน้ำมันหล่อลื่น
ส่วนที่ 4   ถังเก็บน้ำมัน ระบบท่อ เครื่องสูบ ตู้จ่ายและอุปกรณ์
                การออกแบบก่อสร้างถัง ระบบท่อ อุปกรณ์และการทดสอบ
ส่วนที่ 5   การป้องกันและระงับอัคคีภัย
                เครื่องดับเพลิงและป้ายคำเตือน

การนำไปปฏิบัติ และ สิ่งที่ต้องตรวจสอบ

บททั่วไป
- ภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงให้บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่เกิน 90% ของปริมาตรภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง
- การวัดปริมาณน้ำมันในภาชนะให้คิดตามปริมาตรภาชนะบรรจุ ไม่ว่าจะมีน้ำมันปริมาณเท่าใดก็ตาม
- การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ มีระยะคลาดเคลื่อนไปจากแผนผังบริเวณไม่เกิน 20% ทั้งนี้ ต้องไม่น้อยกว่าระยะปลอดภัย สัดส่วนของสิ่งก่อสร้างต่างๆ มีระยะความคลาดเคลื่อนจากแบบก่อสร้างไม่เกิน 5%

สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก

***ที่ตั้ง ระยะปลอดภัยภายนอก
- ต้องติดทางหลวงหรือถนนสาธารณะที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 12 เมตร หรือติดถนนส่วนบุคคลที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร
               
***ลักษณะอาคารบริการ สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก ระยะปลอดภัยภายใน
อาคารบริการ
- เป็นอาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้น อาคารบริการแต่ละอาคารต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 2 เมตร
- ขอบอาคารบริการต้องอยู่ห่างเขตถนนด้านที่ใช้เป็นทางเข้าออกไม่น้อยกว่า 5 เมตร
- ต้องห่างจากเขตสถานีบริการด้านที่ไม่ใช่เป็นทางเข้า-ออก ไม่น้อยกว่า 20 เมตร ถ้าระยะห่างน้อยกว่า 20 เมตร ต้องสร้างกำแพงกันไฟสูงไม่น้อยกว่า 1.8 เมตร ที่แนวเขตสถานีบริการด้านนั้น
***กรณีที่ดินข้างเคียงเป็นของผู้ประกอบการหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ยินยอมสามารถลดระยะได้ไม่น้อยกว่า 15 เมตร

สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก (อาคารชั่วคราวหรือล้อเลื่อน)
- สิ่งก่อสร้างไม่มีฐานราก ต้องมีพื้นที่ไม่เกินร้อยละ 10 ของพื้นที่สถานีบริการ
- ต้องห่างจากอาคารบริการไม่น้อยกว่า 2 เมตร และห่างจากตู้จ่าย, ถังใต้ดินและท่อรับน้ำมันไม่น้อยกว่า 5 เมตร
ห้องน้ำ-ห้องส้วม
- ห่างจากทางเข้า-ออก ไม่น้อยกว่า 5 เมตร และห่างจากเขตสถานีบริการไม่น้อยกว่า 2 เมตร
หอถังน้ำ และ เสาป้ายเครื่องหมายการค้า
- ต้องห่างจากอาคารบริการไม่น้อยกว่า 2 เมตร
ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
- ห่างจากอาคารบริการไม่น้อยกว่า 4 เมตร
- ชนิดไวไฟปานกลางและไวไฟน้อย ต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันไม่น้อยกว่า 5 เมตร
- ชนิดไวไฟมาก ต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันไม่น้อยกว่า 20 เมตร ถ้าน้อยกว่าต้องสร้างกำแพงกันไฟสูงไม่น้อยกว่า 1.8 เมตร

ถังใต้พื้นดินเก็บน้ำมันเครื่องใช้แล้ว
- สถานีบริการน้ำมันที่มีบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง จะต้องติดตั้งถังใต้พื้นดินสำหรับเก็บน้ำมันเครื่องใช้แล้วความจุไม่น้อยกว่า 4,000 ลิตร
ที่ล้างรถ, ที่ยกรถ
                - ที่ล้างรถหรือที่ยกรถต้องอยู่ห่างทางเข้าออกไม่น้อยกว่า 5 เมตร
                - ต้องห่างกำแพงกันไฟหรือแนวเขตสถานีไม่น้อยกว่า 5 เมตร 1 ด้าน ด้านที่เหลือไม่น้อยกว่า 2 เมตร
                - ถ้าระยะห่างน้อยกว่า 10 เมตร กำแพงกันไฟด้านที่ติดตั้งที่ล้างรถหรือที่ยกรถโดยวัดจากศูนย์กลางของที่ล้างรถหรือที่ยกรถออกไปข้างละไม่น้อยกว่า10 เมตร และสูงไม่น้อยกว่า 3 เมตร
                - กรณีที่ล้างรถมีอาคารหรืออุปกรณ์ป้องกันละอองไฟอยู่แล้ว ไม่ต้องสร้างกำแพงกันไฟก็ได้

***การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
                - บริเวณที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากและปานกลางตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง ให้เก็บน้ำมันทุกชนิดรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 180,000 ลิตร โดยต้องเก็บน้ำมันชนิดไวไฟมากไม่เกิน 90,000 ลิตร
                - บริเวณที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นให้เก็บน้ำมันทุกชนิดรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 360,000 ลิตร โดยต้องเก็บน้ำมันชนิดไวไฟมากไม่เกิน 180,000 ลิตร
                - เก็บน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าดภายในอาคารบริการหรือสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานรากได้ไม่เกิน 10,000 ลิตร
                - เก็บไว้ภายนอกได้ไม่เกิน 1,000 ลิตร และต้องไม่กีดขวางการจราจร

***ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบ ตู้จ่ายน้ำมันและอุปกรณ์
ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน
                - ต้องเป็นถังชนิดที่มีผนัง 2 ชั้น ออกแบบ ก่อสร้างและทดสอบตามมาตรฐานUL58, UL1746 หรือมาตรฐานตามรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                - บริเวณปลายท่อรับน้ำมันจะต้องมีการป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันลงสู่พื้นดินโดย
                                1.แบบอยู่เหนือระดับพื้นดินต้องทำบ่อล้อมรอบขนาด 15 ลิตร
                                2.แบบที่อยู่ใต้ระดับพื้นดินต้องทำบ่อที่มีฝาปิดล้อมรอบขนาด 15 ลิตร
- ท่อระบายไอน้ำมันและบริเวณปลายท่อรับน้ำมันแบบเหนือระดับพื้นดิน- ท่อระบายไอน้ำมันและบริเวณปลายท่อรับน้ำมันแบบเหนือระดับพื้นดิน
                - กรณีบริเวณปลายท่อรับน้ำมันแบบใต้พื้นดินให้แสดงสัญลักษณ์แถบสีที่ฝาปิด
- การป้องกันการเติมน้ำมันล้นถัง ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงล้นถัง (Overfill protection) ที่ข้อต่อท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงหรือที่ข้อต่อท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิง

การทดสอบการรั่วซึมของตัวถัง
                - ถังใต้พื้นดินผนังสองชั้นที่มีการทดสอบจากโรงงานให้ตรวจสอบมาตรวัดแรงดันหรือแรงดันสุญญากาศ ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงแรงดันเกินกว่าแรงดันที่ผู้ผลิตกำหนด
                - มีการทดสอบครบวาระทุก 10 ปี

ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง
                - ท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของระบบท่อชนิดแรงดัน (Pressurized piping) ต้องเป็นท่อชนิดผนังสองชั้นซึ่งออกแบบและผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน UL971
                - ท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของระบบท่อชนิดแรงดูด (Suction piping) อาจเป็นท่อชนิดผนังสองชั้นหรือชั้นเดียว กรณีเป็นท่อผนังชั้นเดียวต้องทำด้วยเหล็กหรือวัสดุอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่า เมื่อติดตั้งต้องวางท่อลาดเอียงไม่น้อยกว่า1 ใน 100 เพื่อให้น้ำมันไหลกลับเข้าสู่ถัง ต้องติดตั้งลิ้นกันกลับที่ใต้ตู้จ่ายและไม่มีลิ้นอื่นใดติดตั้งอยู่ระหว่างลิ้นกันกลับ กับถังใต้พื้นดิน
การทดสอบระบบท่อน้ำมัน
                - ทดสอบด้วยแรงดันน้ำ, แรงดันอากาศด้วยแรงดัน 50 ปอนด์/ตารางเมตร ไม่น้อยกว่า 30 นาที กรณีท่อผนังสองชั้นให้ทดสอบเฉพาะท่อชั้นใน
                - กรณีท่อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผ่านการใช้งานแล้ว ห้ามทดสอบด้วยแรงดันอากาศ           

***การป้องกันและระงับอัคคีภัย     
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก ต้องมีอุปกรณ์ระงับภัยดังนี้
เครื่องดับเพลิง
                - จำนวน 2 เครื่อง ต่อตู้จ่าย 1 ถึง 4 ตู้
                - จำนวน 3 เครื่อง ต่อตู้จ่าย 5 ถึง 8 ตู้
                - ถ้ามีตู้จ่ายเกิน 8 ตู้ ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงเพิ่มขึ้น 1 เครื่อง ต่อตู้จ่ายทุกๆ    1 ถึง 3 ตู้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และต้องตรวจสอบและบำรุงรักษาทุก 6 เดือน
บริเวณตู้จ่าย ต้องจัดให้มีป้ายเตือนตัวอักษรสูง 2.5 เซนติเมตร
อันตราย
1.ดับเครื่องยนต์                                    2.ห้ามสูบบุหรี่
3.ห้ามก่อประกายไฟ                            4.ปิดโทรศัพท์มือถือ

บทเฉพาะกาล
                - จัดให้มีป้ายข้อความเตือนที่ตู้จ่าย ภายใน 180 วัน
                - แสดงสัญลักษณ์แถบสีของท่อระบายไอ ภายใน 1 ปี

การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้ดินและระบบท่อ
1.   สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการทดสอบตาม ประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง               มาตรฐานความปลอดภัย สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท 1 ให้เริ่มทดสอบ ในวันที่ 30 มิถุนายน 2538 เมื่อครบ 10 ปี
2.   สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่เคยทดสอบตามประกาศกรมโยธาธิการ ให้เริ่มทดสอบภายใน 5 ปี
3.   สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะชนิดไวไฟน้อยหรือปานกลางให้เริ่มทดสอบภายใน 5 ปี



สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข

***จุดเริ่มต้นทางเข้า-ออก

1.       ต้องห่างจากจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของเชิงลาดสะพานที่มีความลาดชันด้านใดด้านหนึ่งเกิน 1/50 ไม่น้อยกว่า 50 เมตร
2.       ต้องห่างจากรางรถไฟไม่น้อยกว่า 30 เมตร

***สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข มีทางเข้า-ออก 3 รูปแบบ ดังนี้                    
1.ทางเข้าและทางออกแยกต่างหากจากกัน และห่างกันไม่น้อยกว่า 10 เมตร
- แต่ละทางต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตร
- ขอบทางเลี้ยวเข้าด้านซ้ายและขอบทางเลี้ยวออกด้านซ้ายต้องมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า 3 เมตร
- แนวเขตด้านหน้าต้องยาวไม่น้อยกว่า 24 เมตร
- เครื่องสูบและตู้จ่ายต้องห่างเขตถนนด้านหน้าไม่น้อยกว่า 5 เมตร
2.ทางเข้าและทางออกทางเดียวกัน
 - ความกว้างของทางออกไม่น้อยกว่า 7 เมตร
- ขอบทางเลี้ยวเข้าด้านซ้ายและขอบทางเลี้ยวออกด้านซ้ายต้องมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า 3 เมตร
- แนวเขตด้านหน้าต้องยาวไม่น้อยกว่า 16 เมตร
- เครื่องสูบและตู้จ่ายต้องห่างเขตถนนด้านหน้าไม่น้อยกว่า 12 เมตร
3.ทางเข้าและทางออกตรงหัวมุมถนน
                - ทางเข้าและทางออกอยู่คนละด้านของหัวมุมถนน
                - แต่ละทางต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 7 เมตร
- ขอบทางเข้าและทางออกด้านในต้องอยู่ห่างจากจุดตัดของแนวเขตสถานีบริการที่หัวมุมถนนไม่น้อยกว่า 7.50 เมตร
- ขอบทางเลี้ยวเข้าด้านซ้ายและขอบทางเลี้ยวออกด้านซ้ายต้องมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า 3 เมตร แนวเขตด้านหน้าต้องยาวไม่น้อยกว่า 17.50 เมตร
- เครื่องสูบและตู้จ่ายต้องห่างทางเข้าออกไม่น้อยกว่า 5 เมตร

***ลักษณะอาคารบริการ สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก ระยะปลอดภัยภายใน
- อาคารบริการ (ลักษณะเหมือนประเภท ก)
                - สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก (อาคารชั่วคราวหรือล้อเลื่อน)
                - ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 30 ตารางเมตร และให้มีเฉพาะใช้เป็นร้านจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว

***การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
                - เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมากได้ไม่เกิน 60,000 ลิตร
                - เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อยรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 20,000 ลิตร
                - ให้มีตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่เกิน 4 ตู้
                - การเก็บน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าดให้เก็บได้ไม่เกิน 10,000 ลิตร

***ถังเก็บน้ำมันระบบท่อ เครื่องสูบ ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและอุปกรณ์
                - ลักษณะ วิธีการปฏิบัติ การทดสอบและตรวจสอบเหมือนประเภท ก

***การป้องกัน และ ระงับอัคคีภัย
                - ปฏิบัติตามข้อกำหนดเหมือนประเภท ก

บทเฉพาะกาล
                - จัดให้มีป้ายเตือนที่ตู้จ่าย ภายใน 180 วัน
                - แสดงสัญลักษณ์แถบสีของท่อระบายไอ ให้ถูกต้องภายใน 1 ปี

การทดสอบและการตรวจสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินและระบบท่อน้ำมัน
(ก) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการทดสอบ ตามประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภทที่ 2 ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2538 ให้เริ่มทำการทดสอบเมื่อครบ 10 ปี
(ข) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่เคยทำการทดสอบและตรวจสอบตามประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภทที่ 2 ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2538 ให้เริ่มทำการทดสอบและตรวจสอบภายใน 5 ปี
(ค) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อย ให้เริ่มทำการทดสอบและตรวจสอบภายใน 5 ปี

สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค

***ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย
ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัยภายนอก
                - เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่เป็นทางเข้า-ออก ต้องติดทางสัญจรที่มีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า 8 เมตร
                - ลักษณะทางเข้า-ออก เหมือนสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก

ลักษณะ และระยะปลอดภัยภายใน
1.อาคารบริการ
- ห่างจากทางเข้า-ออก ไม่น้อยกว่า 5 เมตร อีกด้านห่างไม่น้อยกว่า 5 เมตร และด้านที่เหลือไม่น้อยกว่า 2 เมตร
2.สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก
                - มีได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของพื้นที่ของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
3.หอถังน้ำและป้ายเครื่องหมายการค้า
                - มีลักษณะเหมือนสถานีบริการฯ ประเภท ก
4.ถ้ามีบริการล้างรถ และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นให้ดำเนินการ ดังนี้
                                - พื้นลานในส่วนที่ให้บริการต้องทำด้วยคอนกรีต และมีรางระบายน้ำโดยรอบ
                                - บ่อกักไขมันต้องมีความจุไม่น้อยกว่า 500 ลิตร/พื้นที่ 500 ตารางเมตร

***การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
1.สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ลักษณะที่ 1
                - สามารถเก็บน้ำมันชนิดไวไฟน้อย หรือไวไฟปานกลางในถังเหนือพื้นดินได้ไม่เกิน 10,000 ลิตร และเก็บน้ำมันทุกชนิดในถังน้ำมันได้อีกไม่เกิน 2 ถัง
2.สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ลักษณะที่ 2
                - สามารถเก็บน้ำมันชนิดไวไฟน้อย หรือไวไฟปานกลางในถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินได้ไม่เกิน 60,000 ลิตร ถังมีความจุไม่เกิน 30,000 ลิตร และเก็บน้ำมันทุกชนิดในถังใต้พื้นดินอีกไม่เกิน 5,000 ลิตร
                - สามารถเก็บน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าดภายในอาคารบริการได้ไม่เกิน10,000 ลิตร และเก็บไว้ภายนอกอาคารไม่เกิน 1,000 ลิตร

***ถังเก็บน้ำมัน, ระบบท่อ, เครื่องสูบ ตู้จ่ายและอุปกรณ์
ถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดิน
                - ถังต้องทำด้วยเหล็กที่มีความเค้นครากไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของความเค้นที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดันใช้งานหรือวัสดุอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่ (รมว.) กำหนด
                 - ผิวภายนอกถังต้องทาสีรองพื้นกันสนิมไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และทาทับด้วยสีเคลือบ 
                - ถังเหนือพื้นที่มีความจุมากกว่า 19,000 ลิตร ต้องมีช่องคนลง (manhole) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร
                - ต้องติดตั้งอุปกรณ์ระบายความดันฉุกเฉิน (emergency venting) กรณีอุปกรณ์ระบายไอน้ำมันของถังมีค่าระบายน้อยกว่าอัตราการระบายไอน้ำมันตามฉุกเฉินตารางที่ 3 (ระบายความดันกรณีเกิดเพลิงไหม้ถัง เพื่อป้องกันการระเบิด)
                - ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ำมันทุกถัง โดยท่อมีขนาดไม่น้อยกว่า       40 มิลลิเมตร โดยปลายท่อสูงจากระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า 4 เมตร

ลักษณะถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินและระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง
                - มีลักษณะและวิธีการติดตั้งเหมือนสถานีบริการประเภท ก
                - โดยผนังถังจะเป็นแบบชั้นเดียวหรือสองชั้นก็ได้

ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ที่ใช้กับถังน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน
1.ท่อต้องทำด้วยเหล็กหรือมาตรฐานเทียบเท่าตามรัฐมนตรีกำหนด
2.การต่อท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ากับถังน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีลิ้นเปิด-ปิด อยู่ใกล้ๆ ตัวถัง
3.ระบบท่อ ต้องติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัย ประกอบด้วย
                - อุปกรณ์ป้องกันการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงอันเกิดจากแรงโน้มถ่วง (Anti-Siphon Valve) (เพื่อป้องกันน้ำมันรั่วไหลออกจากถังกรณีท่อจ่ายรั่ว)
                - ลิ้นควบคุมการปิดโดยอัตโนมัติ (Fire-emergency valve)

การทดสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง, ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง
                - ใช้วิธีการทดสอบเหมือนกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก

***การป้องกันอัคคีภัย
                - วิธีปฏิบัติเหมือนกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก

บทเฉพาะกาล
                - ติดตั้งอุปกรณ์ Emergency venting, ติดตั้งอุปกรณ์ anti-siphon valve, fire Emergency valve และเขื่อนรอบถัง ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องภายใน 5 ปี
                - ทดสอบและตรวจสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินและระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงครบ 10 ปี ภายใน 5 ปี
                - จัดให้มีป้ายเตือนที่ตู้จ่ายน้ำมัน ภายใน 180 วัน


สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ง

***ลักษณะและระยะปลอดภัย
ลักษณะและระยะปลอดภัยภายในของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ง ที่มีการ
จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า (ปั๊มมือหมุน)
1.เก็บไว้ในห้องเก็บ
                - ถังน้ำมันที่เก็บไว้ในผนังห้องต้องห่างจากเขตสถานีไม่น้อยกว่า 3 เมตร
                - ห้องเก็บมีช่องระบายไม่น้อยกว่า 2 ช่อง แต่ละช่องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 400 ตารางเซนติเมตร
2.เก็บไว้ในที่โล่ง
                - ถังน้ำมันที่ตั้งอยู่นอกห้องเก็บ ต้องตั้งห่างจากเขตสถานีไม่น้อยกว่า 3 เมตร และตั้งอยู่บนพื้นคอนกรีตหนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร มีขอบผนังสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร
ลักษณะและระยะปลอดภัยของปั๊มตู้หยอดเหรียญ
                - ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และถังน้ำมันต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันไม่น้อยกว่า 3 เมตร
                - ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และถังน้ำมันต้องตั้งอยู่บนพื้นคอนกรีตหนาไม่น้อยกว่า10 เซนติเมตร และต้อมีขอบผนังสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำมันรั่วไหล
***ถังน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบ และอุปกรณ์
                - ถังน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องตั้งตรง
                - มีช่องจ่ายน้ำมันอยู่ด้านบนของถัง
                - ห้ามทำการสูบจ่ายน้ำมันด้วยอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดแรงดันภายในถัง
                - ห้ามต่อท่อน้ำมันระหว่างถังเข้าด้วยกัน
                - เครื่องสูบและอุปกรณ์จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับน้ำมันโดยเฉพาะ
***การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
                - สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ง สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดที่ไม่ใช่น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันก๊าดไว้ในถังน้ำมันเชื้อเพลิงได้ชนิดละไม่เกิน 2 ถัง
                - สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ง สามารถเก็บน้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันก๊าดได้ไม่เกิน 500 ลิตร
***การป้องกัน และระงับอัคคีภัย
                - ต้องติดตั้งถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งหรือน้ำยาดับเพลิงขนาดไม่น้อยกว่า 6.8 กิโลกรัม จำนวนไม่น้อยกว่า 1 เครื่อง
                - ต้องมีทรายปริมาณไม่น้อยกว่า 200 ลิตร
                - บริเวณถังน้ำมัน หรือตู้จ่ายน้ำมันต้องติดป้ายเตือนที่มีข้อความเหมือนประเภท ก
                - ต้องจัดให้มีผู้ดูแลที่ตู้จ่ายน้ำมันหยอดเหรียญตลอดเวลาที่มีการให้บริการจ่ายน้ำมัน
บทเฉพาะกาล
                - จัดให้มีป้ายเตือนที่ถังน้ำมัน และตู้จ่ายภายใน 180 วัน
                - ติดตั้งเครื่องดับเพลิง และทรายในบริเวณใกล้ถังน้ำมัน ภายใน180 วัน
                - จัดให้มีผู้ดูแลตู้หยอดเหรียญทันที

สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท จ

***ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย
                - การก่อสร้าง หรือติดตั้งท่าเทียบเรือ โป๊ะเหล็ก หรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำไปในลำน้ำต้องปฏิบัติตามกฎหมายเดินเรือในน่านน้ำไทย
                - ที่โป๊ะเหล็กมีอาคารบริการที่สูงได้ไม่เกิน 1 ชั้น
***การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
1.สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท จ ลักษณะที่ 1
                สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อยรวมกันไม่เกิน 10,000 ลิตร

2.สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท จ ลักษณะที่ 2
1.     เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน หรือถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งภายในโป๊ะได้ไม่เกิน 60,000 ลิตร
2.     เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินได้ไม่เกิน 60,000 ลิตรโดยน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมากต้องเก็บไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินเท่านั้น
หมายเหตุ : สามารถเก็บน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าดได้ไม่เกิน 1,000 ลิตร โดยต้องเก็บไว้ภายในอาคารบริการ
***ถังเก็บน้ำมัน, ระบบท่อ, ระบบจ่ายน้ำมันและอุปกรณ์
                - ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน มีลักษณะ และวิธีการติดตั้งเหมือนสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก
                - ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน มีลักษณะ และวิธีการติดตั้งเหมือนสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค และห้ามติดตั้งไว้บนโป๊ะเหล็ก
- ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งภายในโป๊ะเหล็ก
                - ตัวถังต้องทำด้วยเหล็ก ติดตั้งและยึดแน่นกับโป๊ะเหล็ก
                - ผนังถังต้องมีการป้องกันการกัดกร่อน
                - ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิง
***ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์
                - ต้องใช้ท่อที่ทำด้วยเหล็กหรือวัสดุอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                - ต้องจัดให้มีท่ออ่อน (Flexible hose) ระหว่างท่อน้ำมันบนฝั่งกับท่อน้ำมันของโป๊ะเหล็ก
                - กรณีถังเก็บน้ำมันสูงกว่าตู้จ่ายน้ำมัน (ถังเหนือพื้นดิน) ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการไหลกลับ (anti-siphon)
การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง
                -ใช้วิธีการปฏิบัติเหมือนกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก
***การป้องกันและระงับอัคคีภัย
                - ใช้วิธีการปฏิบัติเหมือนกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก
บทเฉพาะกาล
                - จัดให้มีป้ายเตือนที่ตู้จ่าย ภายใน 180 วัน
                - ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน ให้ติดตั้ง Emergency Venting ติดตั้งAnti - siphon valve และทำเขื่อนล้อมรอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน ภายใน 5 ปี
                - ทดสอบและตรวจสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงครบ 10 ปี ภายใน 5 ปี

สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ฉ

***เป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่ยานพาหนะทางอากาศ
***ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย
                - ต้องมีที่ตั้ง ลักษณะและระยะปลอดภัยภายนอกตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
                - ต้องมีลักษณะและระยะภายในตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยคลังน้ำมันเชื้อเพลิง
- กรณีที่มีการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเกิน 500,000 ลิตร ต้องตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงห่างจากเขตพระราชฐานไม่น้อยกว่า 1,000 เมตร
                - สถานศึกษา ศาสนสถาน สถานพยาบาล และโบราณสถาน ไม่น้อยกว่า 200 เมตร
                - จัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยง
***การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
                - สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไวไฟมากที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องบินได้ไม่เกิน 2,000 ลิตร
                - สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไวไฟปานกลางที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องบินได้ไม่จำกัด
                - สามารถเก็บน้ำมันหล่อลื่นได้ไม่เกิน 60,000 ลิตร
***ถังเก็บน้ำมัน, ระบบท่อ, ระบบจ่ายน้ำมันและอุปกรณ์                   
                - ถังเก็บน้ำมัน, ระบบท่อและอุปกรณ์ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยคลังน้ำมันเชื้อเพลิง
                - ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามมาตรฐาน NFPA 407 Standard for Aircraft Fuel Servicing หรือ มาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                - หัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง (Hydrant pit vale) ต้องติดตั้งให้ห่างจากอาคารไม่น้อยกว่า 15 เมตร
***การป้องกันและระงับอัคคีภัย    
                - การป้องกันและระงับอัคคีภัยให้เป็นไปตาม NFPA 407 Standard for Aircraft Fuel servicing หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

บทเฉพาะกาล
                                - ให้มีการจัดทำรายงานประเมินความเสี่ยง ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องภายใน 180 วัน
                                - ทดสอบและการตรวจสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงครบ 10 ปี ต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยคลังน้ำมันเชื้อเพลิง