วันพฤหัสบดีที่ 27 ตุลาคม พ.ศ. 2559

กฎกระทรวง สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงพ.ศ.2552

กฎกระทรวง
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
พ.ศ.2552

ประกาศในราชกิจจานุเบกษาวันที่ 25 มกราคม 2553

สรุปสาระสำคัญ
·        กฎกระทรวงนี้ให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนด 30 วัน นับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป (วันที่ 24 กุมภาพันธ์ 2553)
·        เป็นกฎหมายที่กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับที่ตั้ง รูปแบบ และลักษณะของสถานีบริการน้ำมัน รวมถึงวิธีการและเงื่อนไขในการประกอบกิจการสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง โดยแบ่งออกเป็น 7 หมวด 89 ข้อ ประกอบด้วย
o   หมวดที่ 1                บททั่วไป
o   หมวดที่ 2                สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก
o   หมวดที่ 3                สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข
o   หมวดที่ 4                สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค
o   หมวดที่ 5                สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ง
o   หมวดที่ 6                สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท จ
o   หมวดที่ 7                สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ฉ
o   บทเฉพาะกาล      

หมวด 2-7 (สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก-ฉ) ในแต่ละหมวดแบ่งออกเป็น 5 ส่วน ดังนี้

ส่วนที่ 1 ลักษณะของแผนผัง และ แบบก่อสร้าง
                กำหนดรายละเอียดแบบแผนผังและแบบก่อสร้าง
ส่วนที่ 2   ที่ตั้ง ลักษณะ ระยะปลอดภัย
                1. ระยะปลอดภัยภายนอก ได้แก่ สถานที่ตั้ง, ทัศนะวิสัย การเข้า-ออก และรูปแบบทางเข้า-ออก สถานี
                2. ระยะปลอดภัยภายใน ได้แก่ อาคารบริการ, สิ่งก่อสร้างต่างๆ, การให้บริการ (เช่น การล้างรถ, การเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่น) และอนามัยสิ่งแวดล้อม (เช่น การบำบัดน้ำเสีย, น้ำมันหล่อลื่นใช้แล้ว)
ส่วนที่ 3 การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
                ปริมาณการเก็บน้ำมันที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงและปริมาณการเก็บน้ำมันหล่อลื่น
ส่วนที่ 4   ถังเก็บน้ำมัน ระบบท่อ เครื่องสูบ ตู้จ่ายและอุปกรณ์
                การออกแบบก่อสร้างถัง ระบบท่อ อุปกรณ์และการทดสอบ
ส่วนที่ 5   การป้องกันและระงับอัคคีภัย
                เครื่องดับเพลิงและป้ายคำเตือน

การนำไปปฏิบัติ และ สิ่งที่ต้องตรวจสอบ

บททั่วไป
- ภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงให้บรรจุน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่เกิน 90% ของปริมาตรภาชนะบรรจุน้ำมันเชื้อเพลิง
- การวัดปริมาณน้ำมันในภาชนะให้คิดตามปริมาตรภาชนะบรรจุ ไม่ว่าจะมีน้ำมันปริมาณเท่าใดก็ตาม
- การก่อสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ มีระยะคลาดเคลื่อนไปจากแผนผังบริเวณไม่เกิน 20% ทั้งนี้ ต้องไม่น้อยกว่าระยะปลอดภัย สัดส่วนของสิ่งก่อสร้างต่างๆ มีระยะความคลาดเคลื่อนจากแบบก่อสร้างไม่เกิน 5%

สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก

***ที่ตั้ง ระยะปลอดภัยภายนอก
- ต้องติดทางหลวงหรือถนนสาธารณะที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 12 เมตร หรือติดถนนส่วนบุคคลที่มีความกว้างไม่น้อยกว่า 10 เมตร
               
***ลักษณะอาคารบริการ สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก ระยะปลอดภัยภายใน
อาคารบริการ
- เป็นอาคารสูงไม่เกิน 2 ชั้น อาคารบริการแต่ละอาคารต้องห่างกันไม่น้อยกว่า 2 เมตร
- ขอบอาคารบริการต้องอยู่ห่างเขตถนนด้านที่ใช้เป็นทางเข้าออกไม่น้อยกว่า 5 เมตร
- ต้องห่างจากเขตสถานีบริการด้านที่ไม่ใช่เป็นทางเข้า-ออก ไม่น้อยกว่า 20 เมตร ถ้าระยะห่างน้อยกว่า 20 เมตร ต้องสร้างกำแพงกันไฟสูงไม่น้อยกว่า 1.8 เมตร ที่แนวเขตสถานีบริการด้านนั้น
***กรณีที่ดินข้างเคียงเป็นของผู้ประกอบการหรือผู้ถือกรรมสิทธิ์ยินยอมสามารถลดระยะได้ไม่น้อยกว่า 15 เมตร

สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก (อาคารชั่วคราวหรือล้อเลื่อน)
- สิ่งก่อสร้างไม่มีฐานราก ต้องมีพื้นที่ไม่เกินร้อยละ 10 ของพื้นที่สถานีบริการ
- ต้องห่างจากอาคารบริการไม่น้อยกว่า 2 เมตร และห่างจากตู้จ่าย, ถังใต้ดินและท่อรับน้ำมันไม่น้อยกว่า 5 เมตร
ห้องน้ำ-ห้องส้วม
- ห่างจากทางเข้า-ออก ไม่น้อยกว่า 5 เมตร และห่างจากเขตสถานีบริการไม่น้อยกว่า 2 เมตร
หอถังน้ำ และ เสาป้ายเครื่องหมายการค้า
- ต้องห่างจากอาคารบริการไม่น้อยกว่า 2 เมตร
ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง
- ห่างจากอาคารบริการไม่น้อยกว่า 4 เมตร
- ชนิดไวไฟปานกลางและไวไฟน้อย ต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันไม่น้อยกว่า 5 เมตร
- ชนิดไวไฟมาก ต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันไม่น้อยกว่า 20 เมตร ถ้าน้อยกว่าต้องสร้างกำแพงกันไฟสูงไม่น้อยกว่า 1.8 เมตร

ถังใต้พื้นดินเก็บน้ำมันเครื่องใช้แล้ว
- สถานีบริการน้ำมันที่มีบริการเปลี่ยนถ่ายน้ำมันเครื่อง จะต้องติดตั้งถังใต้พื้นดินสำหรับเก็บน้ำมันเครื่องใช้แล้วความจุไม่น้อยกว่า 4,000 ลิตร
ที่ล้างรถ, ที่ยกรถ
                - ที่ล้างรถหรือที่ยกรถต้องอยู่ห่างทางเข้าออกไม่น้อยกว่า 5 เมตร
                - ต้องห่างกำแพงกันไฟหรือแนวเขตสถานีไม่น้อยกว่า 5 เมตร 1 ด้าน ด้านที่เหลือไม่น้อยกว่า 2 เมตร
                - ถ้าระยะห่างน้อยกว่า 10 เมตร กำแพงกันไฟด้านที่ติดตั้งที่ล้างรถหรือที่ยกรถโดยวัดจากศูนย์กลางของที่ล้างรถหรือที่ยกรถออกไปข้างละไม่น้อยกว่า10 เมตร และสูงไม่น้อยกว่า 3 เมตร
                - กรณีที่ล้างรถมีอาคารหรืออุปกรณ์ป้องกันละอองไฟอยู่แล้ว ไม่ต้องสร้างกำแพงกันไฟก็ได้

***การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
                - บริเวณที่ดินประเภทที่อยู่อาศัยหนาแน่นมากและปานกลางตามกฎหมายว่าด้วยผังเมือง ให้เก็บน้ำมันทุกชนิดรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 180,000 ลิตร โดยต้องเก็บน้ำมันชนิดไวไฟมากไม่เกิน 90,000 ลิตร
                - บริเวณที่นอกเหนือจากที่กล่าวมาข้างต้นให้เก็บน้ำมันทุกชนิดรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 360,000 ลิตร โดยต้องเก็บน้ำมันชนิดไวไฟมากไม่เกิน 180,000 ลิตร
                - เก็บน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าดภายในอาคารบริการหรือสิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานรากได้ไม่เกิน 10,000 ลิตร
                - เก็บไว้ภายนอกได้ไม่เกิน 1,000 ลิตร และต้องไม่กีดขวางการจราจร

***ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบ ตู้จ่ายน้ำมันและอุปกรณ์
ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน
                - ต้องเป็นถังชนิดที่มีผนัง 2 ชั้น ออกแบบ ก่อสร้างและทดสอบตามมาตรฐานUL58, UL1746 หรือมาตรฐานตามรัฐมนตรีประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                - บริเวณปลายท่อรับน้ำมันจะต้องมีการป้องกันการรั่วไหลของน้ำมันลงสู่พื้นดินโดย
                                1.แบบอยู่เหนือระดับพื้นดินต้องทำบ่อล้อมรอบขนาด 15 ลิตร
                                2.แบบที่อยู่ใต้ระดับพื้นดินต้องทำบ่อที่มีฝาปิดล้อมรอบขนาด 15 ลิตร
- ท่อระบายไอน้ำมันและบริเวณปลายท่อรับน้ำมันแบบเหนือระดับพื้นดิน- ท่อระบายไอน้ำมันและบริเวณปลายท่อรับน้ำมันแบบเหนือระดับพื้นดิน
                - กรณีบริเวณปลายท่อรับน้ำมันแบบใต้พื้นดินให้แสดงสัญลักษณ์แถบสีที่ฝาปิด
- การป้องกันการเติมน้ำมันล้นถัง ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงล้นถัง (Overfill protection) ที่ข้อต่อท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิงหรือที่ข้อต่อท่อรับน้ำมันเชื้อเพลิง

การทดสอบการรั่วซึมของตัวถัง
                - ถังใต้พื้นดินผนังสองชั้นที่มีการทดสอบจากโรงงานให้ตรวจสอบมาตรวัดแรงดันหรือแรงดันสุญญากาศ ต้องไม่มีการเปลี่ยนแปลงแรงดันเกินกว่าแรงดันที่ผู้ผลิตกำหนด
                - มีการทดสอบครบวาระทุก 10 ปี

ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง
                - ท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของระบบท่อชนิดแรงดัน (Pressurized piping) ต้องเป็นท่อชนิดผนังสองชั้นซึ่งออกแบบและผ่านการทดสอบตามมาตรฐาน UL971
                - ท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงของระบบท่อชนิดแรงดูด (Suction piping) อาจเป็นท่อชนิดผนังสองชั้นหรือชั้นเดียว กรณีเป็นท่อผนังชั้นเดียวต้องทำด้วยเหล็กหรือวัสดุอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่า เมื่อติดตั้งต้องวางท่อลาดเอียงไม่น้อยกว่า1 ใน 100 เพื่อให้น้ำมันไหลกลับเข้าสู่ถัง ต้องติดตั้งลิ้นกันกลับที่ใต้ตู้จ่ายและไม่มีลิ้นอื่นใดติดตั้งอยู่ระหว่างลิ้นกันกลับ กับถังใต้พื้นดิน
การทดสอบระบบท่อน้ำมัน
                - ทดสอบด้วยแรงดันน้ำ, แรงดันอากาศด้วยแรงดัน 50 ปอนด์/ตารางเมตร ไม่น้อยกว่า 30 นาที กรณีท่อผนังสองชั้นให้ทดสอบเฉพาะท่อชั้นใน
                - กรณีท่อน้ำมันเชื้อเพลิงที่ผ่านการใช้งานแล้ว ห้ามทดสอบด้วยแรงดันอากาศ           

***การป้องกันและระงับอัคคีภัย     
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก ต้องมีอุปกรณ์ระงับภัยดังนี้
เครื่องดับเพลิง
                - จำนวน 2 เครื่อง ต่อตู้จ่าย 1 ถึง 4 ตู้
                - จำนวน 3 เครื่อง ต่อตู้จ่าย 5 ถึง 8 ตู้
                - ถ้ามีตู้จ่ายเกิน 8 ตู้ ต้องติดตั้งเครื่องดับเพลิงเพิ่มขึ้น 1 เครื่อง ต่อตู้จ่ายทุกๆ    1 ถึง 3 ตู้จ่ายที่เพิ่มขึ้น และต้องตรวจสอบและบำรุงรักษาทุก 6 เดือน
บริเวณตู้จ่าย ต้องจัดให้มีป้ายเตือนตัวอักษรสูง 2.5 เซนติเมตร
อันตราย
1.ดับเครื่องยนต์                                    2.ห้ามสูบบุหรี่
3.ห้ามก่อประกายไฟ                            4.ปิดโทรศัพท์มือถือ

บทเฉพาะกาล
                - จัดให้มีป้ายข้อความเตือนที่ตู้จ่าย ภายใน 180 วัน
                - แสดงสัญลักษณ์แถบสีของท่อระบายไอ ภายใน 1 ปี

การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้ดินและระบบท่อ
1.   สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการทดสอบตาม ประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง               มาตรฐานความปลอดภัย สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท 1 ให้เริ่มทดสอบ ในวันที่ 30 มิถุนายน 2538 เมื่อครบ 10 ปี
2.   สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่เคยทดสอบตามประกาศกรมโยธาธิการ ให้เริ่มทดสอบภายใน 5 ปี
3.   สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะชนิดไวไฟน้อยหรือปานกลางให้เริ่มทดสอบภายใน 5 ปี



สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข

***จุดเริ่มต้นทางเข้า-ออก

1.       ต้องห่างจากจุดเริ่มต้นหรือจุดสิ้นสุดของเชิงลาดสะพานที่มีความลาดชันด้านใดด้านหนึ่งเกิน 1/50 ไม่น้อยกว่า 50 เมตร
2.       ต้องห่างจากรางรถไฟไม่น้อยกว่า 30 เมตร

***สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ข มีทางเข้า-ออก 3 รูปแบบ ดังนี้                    
1.ทางเข้าและทางออกแยกต่างหากจากกัน และห่างกันไม่น้อยกว่า 10 เมตร
- แต่ละทางต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 4 เมตร
- ขอบทางเลี้ยวเข้าด้านซ้ายและขอบทางเลี้ยวออกด้านซ้ายต้องมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า 3 เมตร
- แนวเขตด้านหน้าต้องยาวไม่น้อยกว่า 24 เมตร
- เครื่องสูบและตู้จ่ายต้องห่างเขตถนนด้านหน้าไม่น้อยกว่า 5 เมตร
2.ทางเข้าและทางออกทางเดียวกัน
 - ความกว้างของทางออกไม่น้อยกว่า 7 เมตร
- ขอบทางเลี้ยวเข้าด้านซ้ายและขอบทางเลี้ยวออกด้านซ้ายต้องมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า 3 เมตร
- แนวเขตด้านหน้าต้องยาวไม่น้อยกว่า 16 เมตร
- เครื่องสูบและตู้จ่ายต้องห่างเขตถนนด้านหน้าไม่น้อยกว่า 12 เมตร
3.ทางเข้าและทางออกตรงหัวมุมถนน
                - ทางเข้าและทางออกอยู่คนละด้านของหัวมุมถนน
                - แต่ละทางต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 7 เมตร
- ขอบทางเข้าและทางออกด้านในต้องอยู่ห่างจากจุดตัดของแนวเขตสถานีบริการที่หัวมุมถนนไม่น้อยกว่า 7.50 เมตร
- ขอบทางเลี้ยวเข้าด้านซ้ายและขอบทางเลี้ยวออกด้านซ้ายต้องมีรัศมีความโค้งไม่น้อยกว่า 3 เมตร แนวเขตด้านหน้าต้องยาวไม่น้อยกว่า 17.50 เมตร
- เครื่องสูบและตู้จ่ายต้องห่างทางเข้าออกไม่น้อยกว่า 5 เมตร

***ลักษณะอาคารบริการ สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก ระยะปลอดภัยภายใน
- อาคารบริการ (ลักษณะเหมือนประเภท ก)
                - สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก (อาคารชั่วคราวหรือล้อเลื่อน)
                - ต้องมีพื้นที่ไม่เกิน 30 ตารางเมตร และให้มีเฉพาะใช้เป็นร้านจำหน่ายก๊าซปิโตรเลียมเหลว

***การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
                - เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมากได้ไม่เกิน 60,000 ลิตร
                - เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อยรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 20,000 ลิตร
                - ให้มีตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงได้ไม่เกิน 4 ตู้
                - การเก็บน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าดให้เก็บได้ไม่เกิน 10,000 ลิตร

***ถังเก็บน้ำมันระบบท่อ เครื่องสูบ ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงและอุปกรณ์
                - ลักษณะ วิธีการปฏิบัติ การทดสอบและตรวจสอบเหมือนประเภท ก

***การป้องกัน และ ระงับอัคคีภัย
                - ปฏิบัติตามข้อกำหนดเหมือนประเภท ก

บทเฉพาะกาล
                - จัดให้มีป้ายเตือนที่ตู้จ่าย ภายใน 180 วัน
                - แสดงสัญลักษณ์แถบสีของท่อระบายไอ ให้ถูกต้องภายใน 1 ปี

การทดสอบและการตรวจสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินและระบบท่อน้ำมัน
(ก) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีการทดสอบ ตามประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภทที่ 2 ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2538 ให้เริ่มทำการทดสอบเมื่อครบ 10 ปี
(ข) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่เคยทำการทดสอบและตรวจสอบตามประกาศกรมโยธาธิการ เรื่อง มาตรฐานความปลอดภัยของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง ประเภทที่ 2 ลงวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ.2538 ให้เริ่มทำการทดสอบและตรวจสอบภายใน 5 ปี
(ค) สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเฉพาะชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อย ให้เริ่มทำการทดสอบและตรวจสอบภายใน 5 ปี

สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค

***ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย
ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัยภายนอก
                - เขตสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงด้านที่เป็นทางเข้า-ออก ต้องติดทางสัญจรที่มีความกว้างของถนนไม่น้อยกว่า 8 เมตร
                - ลักษณะทางเข้า-ออก เหมือนสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก

ลักษณะ และระยะปลอดภัยภายใน
1.อาคารบริการ
- ห่างจากทางเข้า-ออก ไม่น้อยกว่า 5 เมตร อีกด้านห่างไม่น้อยกว่า 5 เมตร และด้านที่เหลือไม่น้อยกว่า 2 เมตร
2.สิ่งก่อสร้างที่ไม่มีฐานราก
                - มีได้ไม่เกินร้อยละ 10 ของพื้นที่ของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิง
3.หอถังน้ำและป้ายเครื่องหมายการค้า
                - มีลักษณะเหมือนสถานีบริการฯ ประเภท ก
4.ถ้ามีบริการล้างรถ และเปลี่ยนถ่ายน้ำมันหล่อลื่นให้ดำเนินการ ดังนี้
                                - พื้นลานในส่วนที่ให้บริการต้องทำด้วยคอนกรีต และมีรางระบายน้ำโดยรอบ
                                - บ่อกักไขมันต้องมีความจุไม่น้อยกว่า 500 ลิตร/พื้นที่ 500 ตารางเมตร

***การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ดังนี้
1.สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ลักษณะที่ 1
                - สามารถเก็บน้ำมันชนิดไวไฟน้อย หรือไวไฟปานกลางในถังเหนือพื้นดินได้ไม่เกิน 10,000 ลิตร และเก็บน้ำมันทุกชนิดในถังน้ำมันได้อีกไม่เกิน 2 ถัง
2.สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค ลักษณะที่ 2
                - สามารถเก็บน้ำมันชนิดไวไฟน้อย หรือไวไฟปานกลางในถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดินได้ไม่เกิน 60,000 ลิตร ถังมีความจุไม่เกิน 30,000 ลิตร และเก็บน้ำมันทุกชนิดในถังใต้พื้นดินอีกไม่เกิน 5,000 ลิตร
                - สามารถเก็บน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าดภายในอาคารบริการได้ไม่เกิน10,000 ลิตร และเก็บไว้ภายนอกอาคารไม่เกิน 1,000 ลิตร

***ถังเก็บน้ำมัน, ระบบท่อ, เครื่องสูบ ตู้จ่ายและอุปกรณ์
ถังเก็บน้ำมันเหนือพื้นดิน
                - ถังต้องทำด้วยเหล็กที่มีความเค้นครากไม่น้อยกว่า 2 เท่า ของความเค้นที่เกิดขึ้นเนื่องจากความดันใช้งานหรือวัสดุอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่ (รมว.) กำหนด
                 - ผิวภายนอกถังต้องทาสีรองพื้นกันสนิมไม่น้อยกว่า 2 ครั้ง และทาทับด้วยสีเคลือบ 
                - ถังเหนือพื้นที่มีความจุมากกว่า 19,000 ลิตร ต้องมีช่องคนลง (manhole) ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางไม่น้อยกว่า 60 เซนติเมตร
                - ต้องติดตั้งอุปกรณ์ระบายความดันฉุกเฉิน (emergency venting) กรณีอุปกรณ์ระบายไอน้ำมันของถังมีค่าระบายน้อยกว่าอัตราการระบายไอน้ำมันตามฉุกเฉินตารางที่ 3 (ระบายความดันกรณีเกิดเพลิงไหม้ถัง เพื่อป้องกันการระเบิด)
                - ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ำมันทุกถัง โดยท่อมีขนาดไม่น้อยกว่า       40 มิลลิเมตร โดยปลายท่อสูงจากระดับพื้นดินไม่น้อยกว่า 4 เมตร

ลักษณะถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินและระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง
                - มีลักษณะและวิธีการติดตั้งเหมือนสถานีบริการประเภท ก
                - โดยผนังถังจะเป็นแบบชั้นเดียวหรือสองชั้นก็ได้

ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงและอุปกรณ์ที่ใช้กับถังน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน
1.ท่อต้องทำด้วยเหล็กหรือมาตรฐานเทียบเท่าตามรัฐมนตรีกำหนด
2.การต่อท่อจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงเข้ากับถังน้ำมันเชื้อเพลิงต้องมีลิ้นเปิด-ปิด อยู่ใกล้ๆ ตัวถัง
3.ระบบท่อ ต้องติดตั้งอุปกรณ์ความปลอดภัย ประกอบด้วย
                - อุปกรณ์ป้องกันการไหลของน้ำมันเชื้อเพลิงอันเกิดจากแรงโน้มถ่วง (Anti-Siphon Valve) (เพื่อป้องกันน้ำมันรั่วไหลออกจากถังกรณีท่อจ่ายรั่ว)
                - ลิ้นควบคุมการปิดโดยอัตโนมัติ (Fire-emergency valve)

การทดสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง, ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง
                - ใช้วิธีการทดสอบเหมือนกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก

***การป้องกันอัคคีภัย
                - วิธีปฏิบัติเหมือนกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก

บทเฉพาะกาล
                - ติดตั้งอุปกรณ์ Emergency venting, ติดตั้งอุปกรณ์ anti-siphon valve, fire Emergency valve และเขื่อนรอบถัง ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องภายใน 5 ปี
                - ทดสอบและตรวจสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดินและระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงครบ 10 ปี ภายใน 5 ปี
                - จัดให้มีป้ายเตือนที่ตู้จ่ายน้ำมัน ภายใน 180 วัน


สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ง

***ลักษณะและระยะปลอดภัย
ลักษณะและระยะปลอดภัยภายในของสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ง ที่มีการ
จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงโดยไม่ใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า (ปั๊มมือหมุน)
1.เก็บไว้ในห้องเก็บ
                - ถังน้ำมันที่เก็บไว้ในผนังห้องต้องห่างจากเขตสถานีไม่น้อยกว่า 3 เมตร
                - ห้องเก็บมีช่องระบายไม่น้อยกว่า 2 ช่อง แต่ละช่องมีพื้นที่ไม่น้อยกว่า 400 ตารางเซนติเมตร
2.เก็บไว้ในที่โล่ง
                - ถังน้ำมันที่ตั้งอยู่นอกห้องเก็บ ต้องตั้งห่างจากเขตสถานีไม่น้อยกว่า 3 เมตร และตั้งอยู่บนพื้นคอนกรีตหนาไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร มีขอบผนังสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร
ลักษณะและระยะปลอดภัยของปั๊มตู้หยอดเหรียญ
                - ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และถังน้ำมันต้องห่างจากเขตสถานีบริการน้ำมันไม่น้อยกว่า 3 เมตร
                - ตู้จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง และถังน้ำมันต้องตั้งอยู่บนพื้นคอนกรีตหนาไม่น้อยกว่า10 เซนติเมตร และต้อมีขอบผนังสูงไม่น้อยกว่า 10 เซนติเมตร เพื่อป้องกันน้ำมันรั่วไหล
***ถังน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องสูบ และอุปกรณ์
                - ถังน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องตั้งตรง
                - มีช่องจ่ายน้ำมันอยู่ด้านบนของถัง
                - ห้ามทำการสูบจ่ายน้ำมันด้วยอุปกรณ์ที่ทำให้เกิดแรงดันภายในถัง
                - ห้ามต่อท่อน้ำมันระหว่างถังเข้าด้วยกัน
                - เครื่องสูบและอุปกรณ์จ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง ต้องเป็นชนิดที่ใช้กับน้ำมันโดยเฉพาะ
***การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
                - สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ง สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงทุกชนิดที่ไม่ใช่น้ำมันหล่อลื่นและน้ำมันก๊าดไว้ในถังน้ำมันเชื้อเพลิงได้ชนิดละไม่เกิน 2 ถัง
                - สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ง สามารถเก็บน้ำมันหล่อลื่น และน้ำมันก๊าดได้ไม่เกิน 500 ลิตร
***การป้องกัน และระงับอัคคีภัย
                - ต้องติดตั้งถังดับเพลิงชนิดผงเคมีแห้งหรือน้ำยาดับเพลิงขนาดไม่น้อยกว่า 6.8 กิโลกรัม จำนวนไม่น้อยกว่า 1 เครื่อง
                - ต้องมีทรายปริมาณไม่น้อยกว่า 200 ลิตร
                - บริเวณถังน้ำมัน หรือตู้จ่ายน้ำมันต้องติดป้ายเตือนที่มีข้อความเหมือนประเภท ก
                - ต้องจัดให้มีผู้ดูแลที่ตู้จ่ายน้ำมันหยอดเหรียญตลอดเวลาที่มีการให้บริการจ่ายน้ำมัน
บทเฉพาะกาล
                - จัดให้มีป้ายเตือนที่ถังน้ำมัน และตู้จ่ายภายใน 180 วัน
                - ติดตั้งเครื่องดับเพลิง และทรายในบริเวณใกล้ถังน้ำมัน ภายใน180 วัน
                - จัดให้มีผู้ดูแลตู้หยอดเหรียญทันที

สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท จ

***ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย
                - การก่อสร้าง หรือติดตั้งท่าเทียบเรือ โป๊ะเหล็ก หรือสิ่งอื่นใดล่วงล้ำไปในลำน้ำต้องปฏิบัติตามกฎหมายเดินเรือในน่านน้ำไทย
                - ที่โป๊ะเหล็กมีอาคารบริการที่สูงได้ไม่เกิน 1 ชั้น
***การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
1.สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท จ ลักษณะที่ 1
                สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟปานกลางหรือชนิดไวไฟน้อยรวมกันไม่เกิน 10,000 ลิตร

2.สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท จ ลักษณะที่ 2
1.     เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน หรือถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งภายในโป๊ะได้ไม่เกิน 60,000 ลิตร
2.     เก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินได้ไม่เกิน 60,000 ลิตรโดยน้ำมันเชื้อเพลิงชนิดไวไฟมากต้องเก็บไว้ในถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดินเท่านั้น
หมายเหตุ : สามารถเก็บน้ำมันหล่อลื่นหรือน้ำมันก๊าดได้ไม่เกิน 1,000 ลิตร โดยต้องเก็บไว้ภายในอาคารบริการ
***ถังเก็บน้ำมัน, ระบบท่อ, ระบบจ่ายน้ำมันและอุปกรณ์
                - ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงใต้พื้นดิน มีลักษณะ และวิธีการติดตั้งเหมือนสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก
                - ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน มีลักษณะ และวิธีการติดตั้งเหมือนสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ค และห้ามติดตั้งไว้บนโป๊ะเหล็ก
- ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงที่ติดตั้งภายในโป๊ะเหล็ก
                - ตัวถังต้องทำด้วยเหล็ก ติดตั้งและยึดแน่นกับโป๊ะเหล็ก
                - ผนังถังต้องมีการป้องกันการกัดกร่อน
                - ต้องติดตั้งท่อระบายไอน้ำมันเชื้อเพลิง
***ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง และอุปกรณ์
                - ต้องใช้ท่อที่ทำด้วยเหล็กหรือวัสดุอื่นที่มีมาตรฐานเทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                - ต้องจัดให้มีท่ออ่อน (Flexible hose) ระหว่างท่อน้ำมันบนฝั่งกับท่อน้ำมันของโป๊ะเหล็ก
                - กรณีถังเก็บน้ำมันสูงกว่าตู้จ่ายน้ำมัน (ถังเหนือพื้นดิน) ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการไหลกลับ (anti-siphon)
การทดสอบและตรวจสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิง
                -ใช้วิธีการปฏิบัติเหมือนกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก
***การป้องกันและระงับอัคคีภัย
                - ใช้วิธีการปฏิบัติเหมือนกับสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ก
บทเฉพาะกาล
                - จัดให้มีป้ายเตือนที่ตู้จ่าย ภายใน 180 วัน
                - ถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน ให้ติดตั้ง Emergency Venting ติดตั้งAnti - siphon valve และทำเขื่อนล้อมรอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเหนือพื้นดิน ภายใน 5 ปี
                - ทดสอบและตรวจสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงครบ 10 ปี ภายใน 5 ปี

สถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงประเภท ฉ

***เป็นสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่ให้บริการแก่ยานพาหนะทางอากาศ
***ที่ตั้ง ลักษณะ และระยะปลอดภัย
                - ต้องมีที่ตั้ง ลักษณะและระยะปลอดภัยภายนอกตามกฎหมายว่าด้วยการเดินอากาศ
                - ต้องมีลักษณะและระยะภายในตามที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยคลังน้ำมันเชื้อเพลิง
- กรณีที่มีการเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงเกิน 500,000 ลิตร ต้องตั้งถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงห่างจากเขตพระราชฐานไม่น้อยกว่า 1,000 เมตร
                - สถานศึกษา ศาสนสถาน สถานพยาบาล และโบราณสถาน ไม่น้อยกว่า 200 เมตร
                - จัดทำรายงานการประเมินความเสี่ยง
***การเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง
                - สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไวไฟมากที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องบินได้ไม่เกิน 2,000 ลิตร
                - สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงไวไฟปานกลางที่ใช้เป็นเชื้อเพลิงเครื่องบินได้ไม่จำกัด
                - สามารถเก็บน้ำมันหล่อลื่นได้ไม่เกิน 60,000 ลิตร
***ถังเก็บน้ำมัน, ระบบท่อ, ระบบจ่ายน้ำมันและอุปกรณ์                   
                - ถังเก็บน้ำมัน, ระบบท่อและอุปกรณ์ให้เป็นไปตามกฎกระทรวงว่าด้วยคลังน้ำมันเชื้อเพลิง
                - ระบบจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิงให้เป็นไปตามมาตรฐาน NFPA 407 Standard for Aircraft Fuel Servicing หรือ มาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา
                - หัวจ่ายน้ำมันเชื้อเพลิง (Hydrant pit vale) ต้องติดตั้งให้ห่างจากอาคารไม่น้อยกว่า 15 เมตร
***การป้องกันและระงับอัคคีภัย    
                - การป้องกันและระงับอัคคีภัยให้เป็นไปตาม NFPA 407 Standard for Aircraft Fuel servicing หรือมาตรฐานอื่นที่เทียบเท่าตามที่รัฐมนตรีกำหนดโดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา

บทเฉพาะกาล
                                - ให้มีการจัดทำรายงานประเมินความเสี่ยง ต้องปฏิบัติให้ถูกต้องภายใน 180 วัน
                                - ทดสอบและการตรวจสอบถังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง และระบบท่อน้ำมันเชื้อเพลิงครบ 10 ปี ต้องดำเนินการภายในระยะเวลาที่กำหนดไว้ในกฎกระทรวงว่าด้วยคลังน้ำมันเชื้อเพลิง


1 ความคิดเห็น: